ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot


แสนสุขวิล่าปูดำ
HONDA CIVIC 2016
HONDA CITY ALL NEW 2016
PAJERO SPORT 2.4 GLS
VOLVO  XC70  2.3AT 20valve


บำเหน็จดำรงชีพ

 

++บำเหน็จดำรงชีพ++
           กฎหมายเพิ่มเงินบำเหน็จดำรงชีพออกแล้ว
 
กรมบัญชีกลางรายงาน กฎหมายขยายเพดานเงินบำเหน็จดำรงชีพ เพิ่ม เป็น 400,000 บาท ให้ผู้รับบำนาญอายุ 65 ปีบริบูรณ์ ออกแล้ว รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ขอเบิกได้เลย

นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามในกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 แล้ว เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ขั้นตอนต่อไปก็จะส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา และแจ้งเวียนวิธีปฏิบัติให้ส่วนราชการทราบเกี่ยวกับการขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพเพิ่ม ในหลักการ ของกฎกระทรวง คือ ให้จ่ายบำเหน็จดำรงชีพในอัตรา 15 เท่าของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 400,000 บาท และผู้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพ กรณีแรก คือ ผู้รับบำนาญที่มีอายุ

ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับไม่เกิน 200,000 บาท และกรณีที่สอง คือ ผู้รับบำนาญที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้มีสิทธิขอรับได้ไม่เกิน 400,000 บาท แต่ถ้ารับ 200,000 บาท ไปแล้ว ก็ให้ขอรับเพิ่มไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิ แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 400,000 บาท ตัวอย่างเช่น
1. ผู้รับบำนาญ เมื่อออกจากราชการได้รับเงินบำนาญเดือนละ 10,000 บาท คำนวณ 15 เท่า เป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพจำนวน 150,000 บาท และถ้าขอรับไปแล้ว ก็ไม่เข้าข่ายที่จะได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพเพิ่มอีก แม้จะมีอายุครบ 65 ปีก็ตาม หรือ เช่น
2. ผู้รับบำนาญ เมื่อออกจากราชการได้รับเงินบำนาญเดือนละ 15,000 บาท คำนวณ 15 เท่า เป็นจำนวน 225,000 บาท ขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพตอนออกจากราชการได้ จำนวน 200,000 บาท และเมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ และต้องการขอรับบำเหน็จดำรงชีพเพิ่ม จึงขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพเพิ่มได้อีก 25,000 บาท หรือ เช่น
3. ผู้รับบำนาญ เมื่อออกจากราชการได้รับเงินบำนาญเดือนละ 28,000 บาท คำนวณ 15 เท่า เป็นจำนวน 420,000 บาท ขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพตอนออกจากราชการได้ จำนวน 200,000 บาท และเมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์และต้องการขอรับบำเหน็จดำรงชีพเพิ่ม สามารถขอรับเพิ่มได้อีกเพียง 200,000 บาท เนื่องจากรวมกันแล้วไม่เกิน 400,000 บาท
นายมนัส แจ่มเวหา กล่าวเพิ่มเติม ว่า สำหรับขั้นตอนการขอรับบำเหน็จดำรงชีพนั้น ผู้รับบำนาญที่มีสิทธิสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ถ้าประสงค์จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพเพิ่ม จะต้องไปกรอกรายละเอียดในหนังสือรับรองและแบบขอเบิกบำเหน็จดำรงชีพ (แบบ สบง. 12) พร้อมกับแนบสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารที่เขียนรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว ยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ผู้รับบำนาญสังกัดอยู่ในตอนที่ออกจากราชการ และเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานครบถ้วนและถูกต้องส่งให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกหรือผู้ได้รับมอบหมายลงนาม แล้วส่งมายังกรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังเขต จากนั้น กรมบัญชีกลางโอนเงินเข้าบัญชีของผู้รับบำนาญต่อไป
 
 
บำเหน็จดำรงชีพ คือ การนำบำเหน็จตกทอดจำนวน 15 เท่าของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน จำนวนเงิน 200,000 บาท มาจ่ายให้กับผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน ของผู้รับบำนาญในการดำรงชีพให้เหมาะสม กับสภาวะเศรษฐกิจ โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และเมื่อผู้รับบำนาญเสียชีวิตให้ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดขอรับบำเหน็จตกทอด จำนวน 30 เท่าของบำนาญรายเดือนบวกเงินเพิ่ม(ถ้ามี) หักด้วยเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับ ไปแล้ว
           สำหรับการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพกรมบัญชีกลางจะดำเนินการด้วยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับบำนาญโดยตรง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ผู้รับบำนาญที่ยังมิได้แสดงเจตนาขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ขอให้ติดต่อส่วนราชการสังกัดสุดท้ายเพื่อแสดงเจตนา พร้อมเตรียมเอกสารประกอบการขอรับ ดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน(หน้าที่มีเลขประจำตัวประชาชน)
2. สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หรือสะสมทรัพย์ (หน้าที่มีชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีเงินฝาก)
การคำนวณบำเหน็จดำรงชีพ

บำเหน็จดำรงชีพ = บำนาญปกติ X 15 = XXX บาท (ไม่เกินสองแสนบาท)
หรือ = บำนาญปกติ+บำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ X 15 (ไม่เกินสองแสนบาท)
(เงินบำนาญที่นำมาคำนวณไม่รวม ช.ค.บ. / ช.ร.บ. )
การคำนวณบำเหน็จตกทอด กรณีผู้รับบำเหน็จดำรงชีพตาย
            เมื่อผู้รับบำเหน็จดำรงชีพถึงแก่ความตาย การคำนวณบำเหน็จตกทอดให้แก่ทายาท ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. 2494 หรือพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2539 จะคำนวณ ดังนี้
บำนาญปกติ X 30 - บำเหน็จดำรงชีพ
หรือ บำนาญปกติ + บำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ X 30 - บำเหน็จดำรงชีพ (ไม่รวม ช.ค.บ. / ช.ร.บ. )
 
-------------------
30 เท่าของบำนาญตามหนังสือสั่งจ่าย ไม่รวมเงินเพิ่มพิเศษทั้งหลาย บำเหน็จตกทอดเขาให้
แต่รัฐบาลให้เบิกมาใช้ก่อน 15 เท่าของบำนาญแต่ไม่เกิน 200,000 บาท เขาเรียกว่าเงินบำเหน็จดำรงชีพ(ไม่เรียกว่าบำเหน็จตกทอดน๊ะครับ เพราะบำเหน็จตกทอดจะจ่ายให้ทายาทเมื่อเราตาย) ถ้า ยังไม่ตายอายุถึง 65 ปีบริบูรณ์ เขาเพิ่มฐานการคำนวณจากไม่เกิน 200,000 บาท เป็นไม่เกิน 400,000 บาท ดังนั้นถ้าคนไหนได้200,000 เต็มในครั้งแรก เมืออายุถึง 65 ปีบริบูรณ์ก้จะสามารถเบิกเงินบำเหน็จดำรงชีพได้อีกในส่วนที่ขาดอยู่ (คำนวณโดยเอา 15 คูณบำนาญ ลบด้วย 200,000 บาท เหลื่อเท่าไหร่ จะได้เท่านั้น) ย้ำ บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาท บำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ผู้มีสิทธิ
----------------------------
บำเหน็จดำรงชีพหมายถึง เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญปกติ และหรือบำนาญพิเศษทุพพลภาพเพื่อการดำรงชีพในขณะที่ยังมีการดำรงชีพ ในขณะที่ยังมีชีวิต
 
ผู้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพ
1. เป็นผู้รับบำนาญที่พ้นจากราชการ เพราะเกษียณอายุประจำปีหรือตามโครงการเกษียณก่อนอายุกำหนดลาออกจากราชการ
ทางราชการสั่งให้ออกจากราชการ หรือถูกลงโทษปลดออกจากราชการ
2. ได้รับบำนาญปกติ และหรือบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ
3. ไม่เป็นข้าราชการซึ่งออกจากราชการ หรือผู้รับบำนาญที่มีกรณี หรือต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยหรืออาญาก่อนออกจากราชการ
แต่กรณีหรือคดียังไม่ถึงที่สุด (แม้จะได้ทำสัญญาการค้ำประกันเพื่อขอรับบำนาญปกติไว้แล้วก็ตาม)

.

การขอรับบำเหน็จดำรงชีพ
1. ผู้รับบำนาญจะขอรับบำเหน็จดำรงชีพหรือไม่ก็ได้
2. ท่านจะขอรับบำนาญ และบำเหน็จดำรงชีพ พร้อมกันก็ได้
3. ท่านจะขอรับบำนาญก่อน และตัดสินใจขอรับบำเหน็จดำรงชีพภายหลังก็ได้
4. ถ้าเป็นบุคคลที่มีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรืออาญาก่อนออกจากราชการ แต่กรณีหรือคดียังไม่ถึงที่สุด
แม้จะเป็นผู้รับบำนาญโดยมีหนังสือสัญญาค้ำประกันก็ตาม) จะขอรับได้เมื่อกรณีหรือคดีถึงที่สุดและมีสิทธิได้รับบำนาญ
.

กรณีขอรับบำเหน็จดำรงชีพพร้อมกับบำนาญ
1. ให้ผู้ประสงค์ขอรับเงินติดต่อขอรับเงินที่ส่วนราชการสังกัดครั้งสุดท้าย (ส่วนราชการผู้ขอ)
2. กรอกแบบรายการในแบบ 5300 (แบบใหม่)
3. กรอกแบบรายการในแบบ สบง. 1 พร้อมแนบหลักฐาน ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0518.3/ว 79
ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2545 ดังนี้
3.1 สำเนาบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีเลขบัตรบัตรประชาชน
3.2 สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อและเลขที่บัญชี โดยให้ใช้
3.2.1 บัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน โดยจะใช้บัญชีเงินฝาก ธนาคารเดียวกันกับบัญชีที่รับบำนาญ
หรือคนละบัญชีก็ได้
3.2.2 ชื่อบัญชีของผู้รับบำเหน็จดำรงชีพ ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ชื่อบัญชี “ผู้รับบำเหน็จดำรงชีพ และ หรือ ชื่อผู้อื่น ให้กรอกรายการ
ในแบบ สบง. 9 ยื่นต่อส่วนราชการเพื่อพิจารณาตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.4/ ว 49 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2546
3.2.3 กรณีต้องการให้กรมบัญชีกลางโอนบำนาญ และบำเหน็จดำรงชีพเข้าบัญชีเงินฝาก ธนาคารคนละบัญชี ให้ระบุให้ชัดเจน
ด้วยว่าบัญชี ให้ระบุให้ชัดเจนด้วยบัญชีใดใช้ในการโอนบำนาญ และบัญชีใดใช้ในการโอนบำเหน็จรงชีพ
3.3 สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี และรายการลดหย่อนให้กรอกแบบรายการให้ครบถ้วน (ต้องใช้หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่าย
บำนาญปกติ)
.

กรณีขอรับบำเหน็จดำรงชีพเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเป็นผู้รับบำนาญอยู่ก่อนแล้ว
.
1. ให้ผู้ประสงค์จะขอรับเงินติดต่อขอรับเงินที่ส่วนราชการซึ่งไปแสดงตน และขอรับเงินสวัสดิการ
2. กรอกแบบรายการในแบบ 5300 (แบบใหม่)
3. กรอกแบบรายการในแบบ สบง. 1 พร้อมแนบหลักฐาน ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0518.3/ว 79 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2546
เหมือนผู้ขอรับพร้อมบำนาญ
ยกเว้น 3.1 ไม่ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
3.2 ไม่ต้องกรอกแบบรายการลดหย่อนภาษี

การกรอกรายการในช่องขอรับเงินทาง
( 6 ) เพื่อให้การสั่งจ่ายสะดวกและรวดเร็ว สมควรขอรับบำเหน็จดำรงชีพที่ (จังหวัด) เดียวกันกับบำนาญ
.

การคำนวณบำเหน็จดำรงชีพ
.
บำนาญปกติ x 15 (ไม่เกินสองแสนบาท)

. บำนาญปกติ + บำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ x 15 (ไม่เกินสองแสนบาท)
(ไม่รวม ช.ค.บ. / ช.ร.บ.)


.
การคำนวณบำเหน็จตกทอด กรณีผู้รับบำเหน็จดำรงชีพตาย
.
เมื่อผู้รับบำเหน็จดำรงชีพถึงแก่ความตาย การคำนวณบำเหน็จตกทอดให้แก่ทายาทตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494
หรือ พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ดังนี้
. บำนาญปกติ x 30 หักด้วยบำเหน็จดำรงชีพ
หรือ
. บำนาญปกติ + บำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ x 30 หักด้วยบำเหน็จดำรงชีพ
(ไม่รวม ช.ค.บ. / ช.ร.บ.)



การรับเงิน
.
1. กรมบัญชีกลาง จะส่งใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ เพื่อแจ้งจำนวนเงินที่ได้รับให้ท่านทราบตามที่อยู่ที่ท่านกรอกรายการ
ไว้ในแบบ 5300 (แบบใหม่)
2. เมื่อท่านได้รับใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ ไม่ต้องไปแสดงตนที่ส่วนราชการผู้เบิก
3. ให้รอการโอน / รับเงิน หลังจากได้รับใบแนบหนังสือที่สั่งจ่าย แล้วประมาณ 5-7 วัน ทำการ
4. กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ โปรดติดต่อที่ กรมบัญชีกลาง (สำหรับบริหารการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ)
.

ส่วนราชการผู้ขอ
.
1. กรณีขอรับบำนาญพร้อมกับบำเหน็จดำรงชีพ หมายถึง ส่วนราชการสังกัดสุดท้ายของผู้ขอรับเงิน
2. กรณีเป็นผู้รับบำนาญอยู่ก่อนแล้ว หมายถึง ส่วนราชการที่ผู้ขอรับบำนาญไปแสดงตน และขอเบิกเงินสวัสดิการ
.

การส่งเรื่องเพื่อขอให้สั่งจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ
1. ให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ รวบรวมหลักฐาน ดังนี้
1.1 กรอกแบบ 5300 (แบบใหม่)
1.2 แบบ สบง. พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านหน้าที่มีเลขประจำตัวประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก
ธนาคารหน้าที่มีชื่อและเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับเงิน
1.3 กรณีขอรับพร้อมบำนาญปกติ ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีไปด้วย
1.4 กรณีที่ผู้ขอรับเงิน ให้ชื่อบัญชี “และ ชื่อผู้อื่น” ให้แนบแบบ สบง. 9 ไปด้วย
1.5 แบบ สบง. 10
2. ให้ผู้มีอำนาจลงนาม แล้วส่งเรื่องไปยัง
2.1 สำนักงานคลังเขต กรณีสังกัดส่วนภูมิภาค
2.2
สำนักบริหารการรับ – จ่ายเงินภาครัฐ กรณีสังกัดส่วนกลาง
การขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ
กรณีเป็นผู้รับบำนาญอยู่แล้ว และยื่นแบบขอรับบำเหน็จดำรงชีพภายหลัง ส่วนราชการไม่ต้องให้ผู้ขอรับเงินมาแสดงตนเพื่อจัดทำแบบ
สบง. 2 เนื่องจากได้ขอเบิกตามข้อความที่ระบุไว้ใน แบบ สบง. 10 ซึ่งแนบไปพร้อมกับแบบ 5300 (แบบใหม่) แล้ว
3. กรณีเป็นผู้รับบำนาญพร้อมกับบำเหน็จดำรงชีพ ให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดแบบ สบง. 2 (แบบแสดงตนครั้งแรก)ซึ่งหมายถึงการขอรับบำนาญปกติ แล้วส่งไปให้กรมบัญชีกลาง สำนักบริหารการรับ – จ่ายเงินภาครัฐ
4. ไม่ต้องแนบ สบง. 6/7/8 เพื่อขอหักหนี้จากบำเหน็จดำรงชีพ (ไม่มีการหักหนี้)
.

การหมดสิทธิรับเงิน
บำเหน็จดำรงชีพ เป็นรัฐที่รัฐจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อไว้ให้ในการดำรงชีพ ถ้าผู้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงิน ให้ส่วนราชการ จัดทำแบบ สบง. 5 แจ้งให้สำนักการรับ – จ่ายเงินภาครัฐ ทันที เพื่องดการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับเงินและสั่งยกเลิกหนังสือและใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำเหน็จดำรงชีพฉบับดังกล่าว
 

ตัวอย่าง

สมมุติว่า นาย ก. กษียณอายุราชการ เมื่อ 30 กันยายน 2559 เลือกรับบำนาญได้เดือนละ 27,000บาท

นาย ก และญาติ จะได้รับเงิน ดังนี้

1.) เงินจากกองทุน กบข [เงินประเดิม เงินชดเชย(2%) เงินสมทบ(3%) เงินออมเพิ่ม]  อาจจะประมาณ 1ล้านบาทขึ้นไป

2.) เงินบำเหน็จดำรงชีพ (30 เท่าของเงินบำนาญ)

     2.1) อายุ 60ปี(หลังเกษียณ)   ตุลาคม พ.ศ.2559 รับ 15 เท่าของบำเหน็จ แต่ไม่เกิน 200,000.-บาท

     2.2) อายุ 65ปี(รอต่อไปอีก 5ปี ถ้ายังมีชีวิต)  ตุลาคม พ.ศ.2564 รับส่วนที่เหลือจาก 15  เท่าของบำเหน็จ  แต่ไม่เกิน 200,000.-บาท

     2.3) จ่ายทั้งหมด 30 เท่าของบำเหน็จ - ที่รับไปแล้ว 2 ครั้ง (400,000) ญาติอาจจะได้เงินประมาณ 400,000.- เป็นค่าจัดงานศพบำเพ็ญการกุศล

3.) ชำระหนี้ให้ผู้เกษียณ(ถ้ามี)

 




กองทุน กบข บำเหน็จ บำนาญ

สิทธิ สมาชิก กบข. article
พรบ.กองทุนบำเน็จบำนาญ2542
เงินเดือนข้าราชการปรับใหม่ 1 เมษายน 2554



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Link :