ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot


แสนสุขวิล่าปูดำ
HONDA CIVIC 2016
HONDA CITY ALL NEW 2016
PAJERO SPORT 2.4 GLS
VOLVO  XC70  2.3AT 20valve


สิทธิ สมาชิก กบข. article

สิทธิของสมาชิก กบข. 

สมาชิก กบข. เมื่อเกษียณอายุราชการแล้วจะได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ หรือไม่ และได้รับเงินอะไรจาก กบข. บ้าง

1.ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.. 2539 มาตรา 47 ระบุว่า " สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการ ตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ " และมาตรา 48 ระบุว่า " สมาชิกตามมาตรา 35 ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิรับบำนาญ เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน " ในกรณีดังกล่าวข้างต้น สมาชิก กบข. ที่รับราชการภายหลังวันที่ 27 มี..2540 จะได้รับเงินตามสิทธิ ดังนี้ 1.กรณีอายุราชการ ไม่ถึง 10 ปี จะมีไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จจากภาครัฐ แต่จะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.
2.กรณีอายุราชการ 10 ปีแต่ไม่ถึง 25 ปี จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากภาครัฐ และเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.
3.กรณีอายุราชการ 25 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญจากภาครัฐ
**- กรณีสมาชิกเลือกรับบำนาญ สมาชิกจะได้รับ เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวจาก กบข.
**- กรณีสมาชิกเลือกรับบำเหน็จ สมาชิกจะได้รับ เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวจาก กบข.

 

สมาชิกสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ของเงิน กบข. ไว้ล่วงหน้าได้หรือไม่

เงินที่จะได้รับจาก กบข. จะไม่มีการทำหนังสือแสดงเจตนาผู้รับผลประโยชน์ล่วงหน้า ทั้งนี้ กรณีสมาชิกเสียชีวิต ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการพ.. 2539 กำหนดให้จ่าย เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (...) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. เงิน กบข. ถือเป็นสินสมรส ถ้าหากผู้ตายมีคู่สมรส คู่สมรสจะได้รับเงินครึ่งหนึ่งก่อน ส่วนเงินอีกครึ่งที่เหลือ นั้น คู่สมรส มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งอีกในฐานะทายาทโดยธรรม และทายาททั้ง 6 ลำดับ ที่มีสิทธิได้รับมรดก ส่วนนี้ตามลำดับก่อนหลังนั้น ดังนี้
1.1. ผู้สืบสันดาน หมายถึง บุตรที่ชอบด้วกฎหมายซึ่งเกิดจากบิดามารดาสมรสกันตาม กฎหมาย หรือ บุตรที่บิดารับรองบุตร หรือบุตรบุญธรรม
1.2. บิดา มารดา หมายถึง บิดามารดาที่สมรสกันตามกฎหมาย
1.3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หากไม่มีทายาทลำดับ(1) และลำดับ(2) ดังกล่าวข้างต้น ทายาทลำดับนี้จึงจะมีสิทธิได้รับเงินของสมาชิก
1.4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน หากไม่มีลำดับ (1)-(3) จึงจะมีสิทธิได้รับเงินของสมาชิก
1.5. ปู่ ย่า ตา ยาย หากไม่มีทายาท(1) -(4) จึงมีสิทธิได้รับเงินของสมาชิก
1.6. ลุง ป้า น้า อา หหากไม่มีทายาท(1) -(5) จึงมีสิทธิได้รับเงินของสมาชิก
2. ถ้าผู้ตายมีการทำพินัยกรรม ให้แบ่งเงิน กบข. ให้แก่คู่สมรสครึ่งหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือจึงแบ่งให้ทายาทตามพินัยกรรม
3. หากมีการตั้งผู้จัดการมรดก กบข. จะจ่ายเงินให้ผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการทรัพย์สินให้กับทายาทตาม ป... ต่อไป ไป ทั้งนี้ คู่สมรส ต้องจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 

 

หากสมาชิก กบข. ลาออกจากราชการจะได้รับเงินจาก กบข. หรือไม่อย่างไร

ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา 47 ระบุว่า " สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ " และมาตรา 48 ระบุว่า " สมาชิกตามมาตรา 36 (1) หรือ (2) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิรับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน " ในกรณีดังกล่าวข้างต้น สมาชิกจะได้รับเงินตามสิทธิ ดังนี้ 1. กรณีสมาชิกมีสิทธิและเลือกรับบำนาญ จะมีสิทธิได้รับบำนาญจากภาครัฐ และได้รับเงินประเดิม เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว
2. กรณีสมาชิกมีสิทธิและเลือกรับบำเหน็จ จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากภาครัฐ และเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.
3. กรณีสมาชิกไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ สมาชิกจะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ ของเงินดังกล่าวจาก กบข.

 

สมาชิกจะขอถอนเงินจาก กบข. ไปใช้ก่อนเป็นบางส่วนได้หรือไม่

ไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ..2539 มาตรา 45 ระบุว่า "สมาชิกมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง"

 

กบข. สามารถโอนเงินของสมาชิกชำระคืนแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกได้หรือไม่ หรือ มีวิธีอายัดเงินที่มีอยู่ใน กบข. ได้หรือไม่

ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ..2539 มาตรา 61 ระบุว่า สิทธิการรับเงินต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่อาจโอนแก่กันได้ และการอายัดเงินของสมาชิกก็จะไม่สามารถดำเนินการได้เช่นกัน ยกเว้นมีคำสั่งศาลให้สมาชิกผู้นั้นเป็นบุคคลล้มละลาย เงินกบข. ก็จะจ่ายให้แก่พนักงานผู้พิทักษ์ทรัพย์

 

เป็นสมาชิกก่อนที่ กบข. จัดตั้งขึ้น จะขอกลับไปรับบำเหน็จบำนาญตาม พ... บำเหน็จบำนาญเดิม ได้หรือไม่

สมาชิก กบข. ไม่สามารถใช้เกณฑ์การคำนวณบำเหน็จบำนาญตามสูตรเดิมได้เนื่องจาก พรบ. กองทุนฯ
..2539 มาตรา 62 กำหนดว่าการคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ และมาตรา 63 กำหนดว่า การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการหารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย

 

กรณีสมาชิกเสียชีวิตทำไมทายาทถึงไม่ได้รับในส่วนของเงินประเดิมและชดเชย

กรณีสมาชิกพ้นสภาพด้วยเหตุเสียชีวิต ทายาทของสมาชิกจะมีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข. ทั้งนี้ในส่วนของเงินประเดิม และเงินชดเชยจะจ่ายให้สำหรับสมาชิกที่ออกจากราชการและเลือกรับบำนาญเท่านั้น

 

หากข้าราชการส่วนกลางที่เป็นสมาชิก กบข. โอนย้ายไปสังกัดส่วนท้องถิ่น จะต้องออกจากการเป็นสมาชิก กบข. หรือไม่

กรณีข้าราชการส่วนกลางโอนย้ายไปสังกัดส่วนท้องถิ่น นั้น ถือเป็นการพ้นสมาชิกภาพ กบข. และสมาชิกต้องยื่นเรื่อง ขอรับเงินคืนจากกองทุน โดยสมาชิกต้องยื่นเรื่องผ่านหน่วยงานต้นสังกัด โดยยื่นเอกสารการขอรับเงินคืนตามสิทธิ ดังนี้ กรณีเลือกรับบำนาญ ใช้เอกสารดังนี้ 1. แบบขอรับเงินคืน กบข .008/1/2543
2. สำเนาคำสั่งออก พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
3. สำเนาใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำนาญสมาชิก กบข. พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
4. สำเนาสมุดเงินฝาก เฉพาะหน้าที่แสดงเลขที่บัญชี พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีสมาชิกเลือกโอนเงินเข้าบัญชี) กรณีเลือกรับบำเหน็จหรือไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ ใช้เอกสารดังนี้
1. แบบขอรับเงินคืน กบข .008/1/2543
2. สำเนาคำสั่งออก พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
3. สำเนาสมุดเงินฝาก เฉพาะหน้าที่แสดงเลขที่บัญชี พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีสมาชิกเลือกโอนเงินเข้าบัญชี)

 

สมาชิก กบข. ออกจากราชการ จะมีสิทธิได้รับเงินอะไรบ้าง

ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา 47 ระบุว่า " สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบ ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ " และมาตรา 48 ระบุว่า " สมาชิกตามมาตรา 36 (1) หรือ (2) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิรับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน " ในกรณีดังกล่าวข้างต้น สมาชิกจะได้รับเงินตามสิทธิ ดังนี้
1. กรณีสมาชิกมีสิทธิและเลือกรับบำนาญ
- สมาชิก กบข. ที่รับราชการก่อนวันที่ 27 มี..2540 จะมีสิทธิได้รับบำนาญจากภาครัฐ และ เงินประเดิม เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว จาก กบข.
- สมาชิก กบข. ที่รับราชการภายหลังวันที่ 27 มี..2540 จะมีสิทธิได้รับบำนาญจากภาครัฐและ เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว จาก กบข.
2. กรณีสมาชิกมีสิทธิและเลือกรับบำเหน็จ จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากภาครัฐ และเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.
3. กรณีสมาชิกไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ สมาชิกจะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.

 

 

ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. เมื่อลาออกจากราชการและเลือกรับบำนาญ สูตรการคำนวณบำนาญรายเดือน เป็นอย่างไร

มาตรา 63 ระบุว่าเงินบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ หารด้วย 50 แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

 

 

 

กบข. มีโครงการจะให้ข้าราชการที่สังกัดเทศบาล หรือองค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) สมัครเป็นสมาชิก กบข. บ้างหรือไม่

ตามพระราชบัญญัติกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ..2539 มาตรา 35 ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นสมาชิก กบข.
(1) ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ ( 27 มี.. 2540 )
(2) ผู้ชึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ ( 27 มี.. 2540 )ซึ่งปัจจุบัน สมาชิก กบข. ประกอบด้วยข้าราชการ 12 ประเภท คือ
1.ข้าราชการพลเรือน 7.ข้าราชการตำรวจ
2.ข้าราชการตุลาการ 8.ข้าราชการทหาร
3.ข้าราชการอัยการ 9.ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4.ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย 10.ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
5.ข้าราชการครู 11.ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
6.ข้าราชการรัฐสภาสามัญ 12.ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
สำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีกฎหมายว่าด้วยเรื่องรายได้เป็นของส่วนท้องถิ่นเอง และส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรค่าใช้จ่ายของตนเอง รวมถึงอำนาจหน้าที่ในการจัดการเรื่องเงินเดือน และสวัสดิการตลอดถึงการจัดการเรื่องของระบบบำนาญของข้าราชการส่วนท้องถิ่นโดยอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย และมีกฎหมายแยกต่างหากจากกฎหมาย กบข.

 

สมาชิก กบข. เมื่อเกษียณอายุราชการแล้วจะได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ หรือไม่ และได้รับเงินอะไรจาก กบข. บ้าง

ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.. 2539 มาตรา 47 ระบุว่า " สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการ ตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ " และมาตรา 48 ระบุว่า " สมาชิกตามมาตรา 35 ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิรับบำนาญ เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน " ในกรณีดังกล่าวข้างต้น สมาชิก กบข. ที่รับราชการภายหลังวันที่ 27 มี..2540 จะได้รับเงินตามสิทธิ ดังนี้ 1.กรณีอายุราชการ ไม่ถึง 10 ปี จะมีไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จจากภาครัฐ แต่จะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.
2.กรณีอายุราชการ 10 ปีแต่ไม่ถึง 25 ปี จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากภาครัฐ และเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.
3.กรณีอายุราชการ 25 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญจากภาครัฐ
- กรณีสมาชิกเลือกรับบำนาญ สมาชิกจะได้รับ เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวจาก กบข.
- กรณีสมาชิกเลือกรับบำเหน็จ สมาชิกจะได้รับ เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวจาก กบข.

 

วันทวีคูณนำมาคำนวณเงินที่จะได้รับจาก กบข. หรือไม่

วันทวีคูณสามารถคำนวณเพื่อให้เกิดสิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญ แต่สำหรับเงิน กบข. วันทวีคูณจะไม่นำมารวมในการคำนวณ เงินประเดิมค่ะ

 

หากสมาชิก กบข. ลาออกจากราชการจะได้รับเงินจาก กบข. หรือไม่อย่างไร

ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา 47 ระบุว่า " สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ " และมาตรา 48 ระบุว่า " สมาชิกตามมาตรา 36 (1) หรือ (2) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิรับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน " ในกรณีดังกล่าวข้างต้น สมาชิกจะได้รับเงินตามสิทธิ ดังนี้ 1. กรณีสมาชิกมีสิทธิและเลือกรับบำนาญ จะมีสิทธิได้รับบำนาญจากภาครัฐ และได้รับเงินประเดิม เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว
2. กรณีสมาชิกมีสิทธิและเลือกรับบำเหน็จ จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากภาครัฐ และเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.
3. กรณีสมาชิกไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ สมาชิกจะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ ของเงินดังกล่าวจาก กบข.

 

สมาชิกสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ของเงิน กบข. ไว้ล่วงหน้าได้หรือไม่

เงินที่จะได้รับจาก กบข. จะไม่มีการทำหนังสือแสดงเจตนาผู้รับผลประโยชน์ล่วงหน้า ทั้งนี้ กรณีสมาชิกเสียชีวิต ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการพ.. 2539 กำหนดให้จ่าย เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (...) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. เงิน กบข. ถือเป็นสินสมรส ถ้าหากผู้ตายมีคู่สมรส คู่สมรสจะได้รับเงินครึ่งหนึ่งก่อน ส่วนเงินอีกครึ่งที่เหลือ นั้น คู่สมรส มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งอีกในฐานะทายาทโดยธรรม และทายาททั้ง 6 ลำดับ ที่มีสิทธิได้รับมรดก ส่วนนี้ตามลำดับก่อนหลังนั้น ดังนี้
1.1. ผู้สืบสันดาน หมายถึง บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเกิดจากบิดามารดาสมรสกันตาม กฎหมาย หรือ บุตรที่บิดารับรองบุตร หรือบุตรบุญธรรม
1.2. บิดา มารดา หมายถึง บิดามารดาที่สมรสกันตามกฎหมาย
1.3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หากไม่มีทายาทลำดับ(1) และลำดับ(2) ดังกล่าวข้างต้น ทายาทลำดับนี้จึงจะมีสิทธิได้รับเงินของสมาชิก
1.4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน หากไม่มีลำดับ (1)-(3) จึงจะมีสิทธิได้รับเงินของสมาชิก
1.5. ปู่ ย่า ตา ยาย หากไม่มีทายาท(1) -(4) จึงมีสิทธิได้รับเงินของสมาชิก
1.6. ลุง ป้า น้า อา หากไม่มีทายาท(1) -(5) จึงมีสิทธิได้รับเงินของสมาชิก
2. ถ้าผู้ตายมีการทำพินัยกรรม ให้แบ่งเงิน กบข. ให้แก่คู่สมรสครึ่งหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือจึงแบ่งให้ทายาทตามพินัยกรรม
3. หากมีการตั้งผู้จัดการมรดก กบข. จะจ่ายเงินให้ผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการทรัพย์สินให้กับทายาทตาม ป... ต่อไป ไป ทั้งนี้ คู่สมรส ต้องจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 




กองทุน กบข บำเหน็จ บำนาญ

พรบ.กองทุนบำเน็จบำนาญ2542
บำเหน็จดำรงชีพ
เงินเดือนข้าราชการปรับใหม่ 1 เมษายน 2554



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Link :